Undergraduate Program

B.A. IN TRANSLATION AND INTERPRETATION IN THE DIGITAL AGE (BTI)

Lead the evolution of translation: ENRICH -CONNECT- CAPTIVATE

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแปลและล่าม ในยุคดิจิทัล เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างบัณฑิตที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถพัฒนาความรู้และทักษะ ในด้านการแปลและล่าม ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนแห่งอนาคต (Future workforce) ด้วยแนวคิดการเรียนรู้ในโลกศตวรรษที่ 21 (GREATS) ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแนวคิดเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (หรือ Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ รวมถึงการรู้เท่าทันการใช้งานดิจิทัล (Digital Literacy)

 

หลักสูตรเน้นการสร้างทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษ และภาษาไทยได้ในระดับดี พัฒนาความรู้ความสามารถในการแปล และล่ามในบริบทต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ และประเมินคุณภาพงานแปลได้ รวมถึงประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการทำงานแปลและล่ามได้ เรียนรู้ทักษะใหม่ที่จำเป็นในยุคดิจิทัล เช่นทักษะดิจิทัล และการจัดการคลังข้อมูลขนาดใหญ่ อีกทั้งยังส่งเสริมคุณธรรม เน้นการฝึกฝนทักษะด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการประกอบอาชีพแปลและล่าม

ทำไมควรเลือกเรียน BTi

การเลือกเรียนหลักสูตรการแปลและล่ามในยุคดิจิทัลคือการลงทุนในอนาคตที่เต็มไปด้วยโอกาสและความท้าทายที่น่าตื่นเต้น หลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาไทยและภาษาอังกฤษของนักศึกษาให้กลายเป็นนักแปลและล่ามที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถเติมเต็มช่องว่างทางภาษาในหลากหลายสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากการพัฒนาทักษะทางภาษาแล้ว หลักสูตรยังมุ่งเน้นการฝึกฝนความเชี่ยวชาญในการแปลและการล่าม โดยคำนึงถึงบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่อ่อนไหว เพื่อให้นักศึกษาสามารถถ่ายทอดข้อความได้อย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ ในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญ การเรียนรู้ทักษะดิจิทัลและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่จะช่วยให้นักศึกษาเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานในแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ หลักสูตรยังให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จริยธรรมในวิชาชีพและการจัดการบริหารโครงการ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจถึงความสำคัญของการทำงานอย่างมีจริยธรรมและมีประสิทธิภาพ การฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการจริงจะทำให้นักศึกษามีความมั่นใจในการเข้าสู่ตลาดแรงงานอีกด้วย

เกี่ยวกับเรา
จุดเด่นของหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร
ตัวอย่างแผนการเรียน

เกี่ยวกับเรา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแปลและล่าม ในยุคดิจิทัลเป็นหลักสูตรแบบเต็มเวลา ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ หนึ่งภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และ อาจเปิดภาคฤดูร้อนได้โดยใช้เวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ แต่ให้เพิ่มชั่วโมงการศึกษา ในแต่ละวิชาให้เท่ากับภาคปกติ ภาคฤดูร้อนเป็นภาคการศึกษาที่ไม่บังคับ  นักศึกษาต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรอย่างน้อย 7 ภาคการศึกษาปกติ แต่ไม่ใช้บังคับแก่นักศึกษาที่ได้รับการอนุมัติให้เทียบโอนหน่วยกิต และ อย่างมากไม่เกิน 16 ภาคการศึกษาปกติ

 

การจัดการเรียนการสอนเป็นทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย เนื้อหาหลักสูตรจะครอบคลุมด้านภาษาและการสื่อสาร การแปลและล่ามทั้งทั่วไปและเฉพาะทาง ซึ่งได้แก่ สายวิชาทางด้านการแพทย์ การพัฒนาเครื่องมือช่วยแปล และสายสังคมมนุษยศาสตร์และธุรกิจ

 

ในปัจจุบันการเรียนการสอนเน้นการแปลและล่ามคู่ภาษาอังกฤษ-ไทย แต่ในอนาคตอาจมีคู่ภาษาอื่นด้วยนักศึกษายังสามารถเรียนภาษาที่ 3 เป็นวิชาเลือกเสรีเพื่อเพิ่มศักยภาพตนเองได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีโอกาสให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการแปลและล่ามเฉพาะทางและเรียนรู้และฝึกฝนในสถานประกอบการจริงเพื่อให้สามารถเตรียมตัวเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคตอย่างมีความพร้อม

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรการแปลและล่ามฯ เน้น 5 ทักษะสำคัญ ได้แก่
1. ความถนัดสองภาษา (Bilingual fluency)

นักศึกษาจะได้พัฒนาความสามารถทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อก้าวสู่การเป็นนักแปลและล่ามที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถเติมเต็มช่องว่างทางภาษาในสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตจริงได้

 

  1. ความเชี่ยวชาญในการแปลและการล่าม (Translation and interpretation prowess) นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนการแปลและการล่ามทำให้สามารถถ่ายทอดข้อความอย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือโดยคำนึงถึงบริบทที่อาจเป็นประเด็นอ่อนไหวทางสังคมและวัฒนธรรม

 

  1. ทักษะดิจิทัลในการแปลและการล่าม (Digital skills in translation and interpretation)

นักศึกษาจะได้พัฒนาความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในกระบวนการแปลและล่าม เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาทำงานกับแพลตฟอร์มดิจิทัลได้อย่างคล่องตัวและได้ประสิทธิภาพสูงสุดในยุคที่เต็มไปด้วยสื่อออนไลน์เว็บไซต์และช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย

  1. การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่เหมาะสมกับแนวโน้มของอุตสาหกรรมการแปลและล่าม (Big data analysis and industry trends)

นักศึกษาจะได้เรียนรู้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในกระบวนการแปลและล่ามเพื่อให้ได้ผลงานที่ถูกต้องและเหมาะสมกับบริบททั้งการแปลทั่วไปและการแปลเฉพาะทาง ตั้งแต่ด้านการแพทย์ไปจนถึงด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาประสบความสำเร็จในงานบริการด้านภาษาของโลกที่มีพลวัตสูง

  1. จริยธรรมในวิชาชีพและการจัดการบริหารโครงการ (Professional ethics and project management)

นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับจริยธรรมในวิชาชีพและฝึกฝนทักษะในการบริหารโครงการที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังได้เรียนรู้ความสำคัญของการทำงานแบบไม่เปิดเผยข้อมูลภายใต้ข้อตกลงและตามกำหนดเวลาของสัญญาด้วยความเป็นมืออาชีพความซื่อสัตย์และความตระหนักรู้ทางวัฒนธรรม

โครงสร้างหลักสูตร

นักศึกษาจะต้องจดทะเบียนศึกษารายวิชารวม 129 หน่วยกิต โดยศึกษารายวิชาต่างๆ ครบตามโครงสร้างองค์ประกอบและข้อกำหนดของหลักสูตรดังนี้

               1) วิชาศึกษาทั่วไป                                                    30      หน่วยกิต

             2) วิชาเฉพาะ                                                                        93      หน่วยกิต                                 2.1  วิชาแกน                                     12       หน่วยกิต      

                           2.2  วิชาในสาขา                                                81     หน่วยกิต

                                  2.2.1           วิชาบังคับ                             66      หน่วยกิต

                                                          2.2.1.1 วิชาบังคับแกน             54      หน่วยกิต

                                                   2.2.1.2 วิชาบังคับเลือก            12      หน่วยกิต

                                          2.2.2    วิชาเนื้อหาเฉพาะทาง              15        หน่วยกิต

                       3) วิชาเลือกเสรี                                                        6      หน่วยกิต

                                                             รวม                       129   หน่วยกิต

 

1)  วิชาศึกษาทั่วไป                                          30        หน่วยกิต

นักศึกษาจะต้องศึกษารายวิชาในหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปรวมแล้วไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต นักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ทุกรายวิชาในแต่ละหมวด โดยต้องเลือกเรียนให้ครบทั้ง 5 หมวด แต่ละหมวดจะเรียนกี่วิชาก็ได้ ได้แก่

1) หมวดความเท่าทันโลกและสังคม

2) หมวดสุนทรียะและทักษะการสื่อสาร

3) หมวดคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

4) หมวดสุขภาวะและทักษะแห่งอนาคต

5) หมวดการบริการสังคมและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ

 

ทั้งนี้ในการเลือกศึกษาวิชาศึกษาทั่วไปดังกล่าวข้างต้น นักศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแปลและล่ามในยุคดิจิทัล จะต้องศึกษารายวิชาดังต่อไปนี้

 

หมวดความเท่าทันโลกและสังคม

มธ.101    โลก, อาเซียน และไทย                                                     3 (3–0–6)

TU101    Thailand, ASEAN, and the World

มธ.109    นวัตกรรมกับกระบวนคิดผู้ประกอบการ                                  3 (3–0–6)

TU109    Innovation and Entrepreneurial Mindset

สอต.101  เอเชียตะวันออกในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง                                           3 (3–0–6)

IEA101    East Asia in the Transforming World

อซ.125    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาเซียน                                              3 (3–0–6)

AS125    Introduction to ASEAN

อซ.126    ความเชื่อและศาสนาในบริบทสังคมและการเมืองอาเซียน                           3 (3–0–6)

AS126    Beliefs and Religions in the Sociopolitical Contexts of ASEAN

อซ.201    วัฒนธรรมและนวัตกรรมเกาหลี                                           3 (3–0–6)

AS201    Korean Culture and Innovation

อซ.287    ประเด็นร่วมสมัยในอาเซียน                                                             3 (3–0–6)

AS287    Contemporary Issues in ASEAN

สผ.165    เศรษฐกิจสร้างมูลค่า                                                        3 (3–0–6)

AP165    Value Creation Economy

วสห.102  สังคมไทยในโลกสมัยใหม่                                                               3 (3–0–6)

CIS102    Contemporary Thai Society in the Modern World

วสห.106  ภาวะผู้นำและพลังโน้มน้าว                                                             3 (3–0–6)

CIS106    Leadership and Influence

 

หมวดสุนทรียะและทักษะการสื่อสาร       บังคับ 1 วิชา จำนวน 3 หน่วยกิต

สษ.105 ทักษะการสื่อสารทางภาษาอังกฤษ                                                 3 (3–0–6)

EL105    English Communication

 

 

 

            นอกจากนี้ นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาได้ทุกรายวิชาจากรายวิชาดังต่อไปนี้

มธ.102   ชีวิตกับสุนทรียภาพ                                                         3 (3–0–6)

TU102   Life & Aesthetics

ศศ.101   การคิด อ่าน และเขียนอย่างมีวิจารณญาณ                                           3 (3–0–6)

LAS101  Critical Thinking, Reading, and Writing

ศศ.102   ประเทศไทยในมิติทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม            3 (3–0–6)

LAS102  Thailand in Historical, Social, and Cultural Perspective

ศศ.103   มรดกโลกก่อนสมัยใหม่                                                     3 (3–0–6)

LAS103  Heritage of the Pre-modern World

ศศ.104   พัฒนาการของโลกสมัยใหม่                                                             3 (3–0–6)

LAS104  Development of the Modern World

ศศ.105   ปรัชญาและศาสนาเพื่อความเป็นพลเมือง                                 3 (3–0–6)

LAS105  Philosophy and Religious Studies for Citizenship

ภาษาจีน

จน.171   ภาษาจีน 1                                                                   3 (3–0–6)

CH171   Chinese 1

จน.172   ภาษาจีน 2                                                                   3 (3–0–6)

CH172   Chinese 2

ภาษาเกาหลี

อซ.171   ภาษาเกาหลี 1                                                               3 (3–0–6)

AS171    Korean 1

อซ.172   ภาษาเกาหลี 2                                                               3 (3–0–6)

AS172    Korean 2

ภาษาเขมร

อซ.173   ภาษาเขมร 1                                                                 3 (3–0–6)

AS173    Khmer 1

อซ.174   ภาษาเขมร 2                                                                 3 (3–0–6)

AS174    Khmer 2

ภาษาพม่า

อซ.175   ภาษาพม่า 1                                                                  3 (3–0–6)

AS175    Burmese 1

อซ.176   ภาษาพม่า 2                                                                  3 (3–0–6)

AS176    Burmese 2
ภาษามลายู

อซ.177   ภาษามลายู 1                                                                3 (3–0–6)

AS177    Malay 1

อซ.178   ภาษามลายู 2                                                                3 (3–0–6)

AS178    Malay 2

ภาษาเวียดนาม

อซ.179   ภาษาเวียดนาม 1                                                                        3 (3–0–6)

AS179    Vietnamese 1

อซ.180   ภาษาเวียดนาม 2                                                                        3 (3–0–6)

AS180    Vietnamese 2

ภาษาลาว

อซ.181   ภาษาลาว 1                                                                  3 (3–0–6)

AS181    Lao 1

อซ.182   ภาษาลาว 2                                                                  3 (3–0–6)

AS182    Lao 2

ภาษาอินโดนีเซีย

อซ.183   ภาษาอินโดนีเซีย 1                                                          3 (3–0–6)

AS183    Indonesian 1

อซ.184   ภาษาอินโดนีเซีย 2                                                          3 (3–0–6)

AS184    Indonesian 2

ภาษาฟิลิปีโน

อซ.185   ภาษาฟิลิปีโน 1                                                              3 (3–0–6)

AS185    Filipino 1

อซ.186   ภาษาฟิลิปีโน 2                                                              3 (3–0–6)

AS186    Filipino 2

ภาษาโปรตุเกส

อซ.187   ภาษาโปรตุเกส 1                                                                        3 (3–0–6)

AS187    Portuguese 1

อซ.188   ภาษาโปรตุเกส 2                                                                        3 (3–0–6)

AS188    Portuguese 2

หมวดคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

มธ.103   ชีวิตกับความยั่งยืน                                                                      3 (3–0–6)

TU103   Life and Sustainability

มธ.107   ทักษะดิจิทัลกับการแก้ปัญหา                                              3 (3–0–6)

TU107   Digital Skill and Problem Solving

มธ.155   สถิติพื้นฐาน                                                                  3 (3–0–6)

TU155   Elementary Statistics

ดท.100  นวัตกรรมดิจิทัล                                                                         3 (3–0–6)

DX100   Digital Innovation

 

หมวดสุขภาวะและทักษะแห่งอนาคต

มธ.201   ความรู้ทางการเงินสำหรับบุคคล                                           3 (3–0–6)

TU201   Financial Literacy for Individuals

มธ.202   ครบเครื่องเรื่องลงทุน                                                        3 (3–0–6)

TU202   Complete Investment

มธ.235   หลักการออกแบบและพัฒนาเว็ปแอปพลิเคชัน                           3 (3–0–6)

TU235   Web Development

มธ.236   การผลิตสื่อ 3 มิติ ภาพเคลื่อนไหวและโลกเสมือน                       3 (3–0–6)

TU236   Basic 3D Production & Animation and World of Virtual Reality VR AR and MR

มธ.237   ความเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลรายใหม่                                   3 (3–0–6)

TU237   Digital Entrepreneurship & Startup Crash Course

มธ.240   เศรษฐกิจภูมิรัฐศาสตร์โลก                                                  3 (3–0–6)

TU240   World Geopolitical Economy

มธ.241   การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม                                             3 (3–0–6)

TU241   Reducing Social Inequality

 

หมวดการบริการสังคมและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ

มธ.100   พลเมืองกับการลงมือแก้ปัญหา                                             3 (3–0–6)

TU100   Civic Engagement

 

2)  วิชาเฉพาะ                                                                                       93      หน่วยกิต

               2.1  วิชาแกน                                                                        12      หน่วยกิต

             นักศึกษาต้องศึกษาวิชาแกน 4 รายวิชา จำนวน 12 หน่วยกิต และต้องสอบผ่านทุกวิชา ดังต่อไปนี้

ท.291 การพัฒนาสมรรถภาพการเขียน                                                          3 (3-0-6) 

TH291 Writing Proficiency Development

อ.211 การฟัง-พูด                                                                           3 (3-0-6)

EG211 Listening-Speaking

อ.214  การเล่าเรื่องเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ                                          3 (3-0-6) 

TI214 Storytelling for Effective Communication       

อ.221 การอ่านและการเขียนเชิงบูรณาการ                                                     3 (3-0-6)

EG221 Integrated Reading and Writing                             

 

               2.2  วิชาในสาขา                                                       81      หน่วยกิต

2.2.1 วิชาบังคับ 66 หน่วยกิต

          2.2.1.1 วิชาบังคับแกน 54 หน่วยกิต

นักศึกษาต้องศึกษาวิชาบังคับแกนในสาขารวม 17 รายวิชา จำนวน 54 หน่วยกิต ดังต่อไปนี้

วิชาภาษาและการสื่อสาร                                                   6 รายวิชา จำนวน 18  หน่วยกิต

ปล.111 การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร                                          3 (3-0-6)

TI111 Thai for Communication

ปล.112 การอ่านงานเขียนภาษาไทย                                                         3 (3-0-6)

TI112 Reading in Thai

ปล.213 การพูดภาษาไทยในที่ชุมนุมชน                                           3 (3-0-6)

TI213 Public Speaking in Thai

ปล.214 การเล่าเรื่องเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ                                 3 (3-0-6)

TI214 Storytelling for Effective Communication

ปล.315 การเขียนงานสื่อผสม                                                        3 (3-0-6)

TI315 Multimedia Composing

ปล.316 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมสำหรับนักแปลและล่าม                            3 (3-0-6)

TI316 Intercultural Communication for Translators and Interpreters

 

วิชาการแปลและล่าม                                              9 รายวิชา จำนวน 27  หน่วยกิต

ปล.121 การวิเคราะห์และตีความตัวบท                                            3 (3-0-6)

TI121 Text Analysis and Interpretation

ปล.122 หลักการแปลและล่ามเบื้องต้น                                                       3 (3-0-6)

TI122 Introduction to Translation and Interpretation

ปล.223 การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย                                              3 (3-0-6)

TI223 English–Thai Translation

ปล.224 การแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ                                              3 (3-0-6)

TI224 Thai–English Translation

ปล.225 การล่ามแบบพูดตาม                                                        3 (3-0-6)

TI225 Consecutive Interpretation

ปล.231 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีการแปล                                       3 (3-0-6)

TI231 Introduction to Translation Technology

ปล.326 การล่ามแบบพูดพร้อม                                                      3 (3-0-6)

TI326 Simultaneous Interpretation

ปล.332 ทักษะทางดิจิทัลสำหรับการแปล                                          3 (3-0-6)

TI332 Digital Skills for Translation

ปล.333 นักวิชาชีพในอุตสาหกรรมการแปลและล่าม                                       3 (3-0-6)

TI333 Professionals in the Translation and Interpretation Industry

 

วิชาในหมวดวิชาระดับสูงและวิชาฝึกงาน                      2 รายวิชา จำนวน 9 หน่วยกิต

ปล.461 ประเด็นร่วมสมัยด้านการแปลและล่าม                                             3 (3-0-6)

TI461 Contemporary Issues in Translation and Interpretation

ปล.462 การฝึกงานด้านการแปลและล่าม                       6 (ฝึกงาน 1 ภาคการศึกษา)

TI462 Internship in Translation and Interpretation   

 

 

2.2.1.2 วิชาบังคับเลือก 12 หน่วยกิต

นักศึกษาต้องเลือกศึกษาวิชาบังคับเลือกในสาขารวม 4 รายวิชา จำนวน 12  หน่วยกิต ดังต่อไปนี้

ปล.317 วรรณกรรมจากมุมมองโลก                                                           3 (3-0-6)

TI317 Global Perspectives on Literature

ปล.327 การบรรณาธิการบทแปล                                                             3 (3-0-6)

TI327 Translation Editing

ปล.334 การจัดการประมวลศัพท์ดิจิทัลเพื่อการแปลและล่าม                            3 (3-0-6)

TI334 Digital Terminology for Translation and Interpretation

ปล.341 การแปลวรรณกรรม                                                                   3 (3-0-6)

TI341 Literary Translation

ปล.342 การแปลและล่ามเชิงธุรกิจ                                                            3 (3-0-6)

TI342 Business Translation and Interpretation

ปล.343 การแปลและล่ามเชิงกฎหมาย                                                       3 (3-0-6)

TI343 Legal Translation and Interpretation

ปล.344 การแปลและโลคัลไลเซชันสื่อ                                                        3 (3-0-6)

TI344 Media Translation and Localization

ปล.345 การโลคัลไลเซชันเกม                                                        3 (3-0-6)

TI345 Game Localization      

 

2.2.2 วิชาเนื้อหาเฉพาะทาง 15 หน่วยกิต

นักศึกษาต้องศึกษาวิชาเนื้อหาเฉพาะทางไม่น้อยกว่า 5 รายวิชา จำนวน 15 หน่วยกิต โดยเลือกรายวิชาจากสายวิชาใดสายวิชาหนึ่งไม่ต่ำกว่า 3 รายวิชา (ยกเว้นนักศึกษาที่ต้องการประกาศนียบัตรด้านการแปลและล่ามทางการแพทย์ ต้องเลือกเรียนวิชาสายการแพทย์ให้ครบทั้ง 5 รายวิชา)

วิชาสายพัฒนาเครื่องมือช่วยแปล

ปล.335 การโลคัลไลเซชันในอุตสาหกรรมการแปล                                         3 (3-0-6)

TI335 Localization in the Translation Industry

ปล.336 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์และเครื่องแปลภาษา                   3 (3-0-6)

TI336 Introduction to Artificial Intelligence and Machine Translation

ปล.337 หัวข้อเฉพาะด้านเทคโนโลยีการแปล                                               3 (3-0-6)

TI337 Selected Topics in Translation Technology

ปล.438 การวิจัยด้านเทคโนโลยีการแปล                                           3 (3-0-6)

TI438 Research in Translation Technology

ปล.439 ภาษาไพทอนเบื้องต้นสำหรับนักแปล                                              3 (3-0-6)

TI439 Introduction to Python for Translators

 

วิชาสายการแพทย์

ปล.351 ศัพท์และนิยามศัพท์ทางการแพทย์                                                 3 (3-0-6)

TI351 Medical Terminology

ปล.352 องค์ความรู้พื้นฐานทางการแพทย์ 1                                                3 (3-0-6)

TI352 Basic Medical Science 1

ปล.353 องค์ความรู้พื้นฐานทางการแพทย์ 2                                                3 (3-0-6)

TI353 Basic Medical Science 2

ปล.354 แนวคิดการพัฒนาตนเองและจรรยาบรรณทางการแพทย์                       3 (3-0-6)

TI354 Transformative Learning and Medical Ethics

ปล.455 การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และเวลเนส                                               3 (3-0-6)

TI455 Medical Tourism and Wellness

 

วิชาสายมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และธุรกิจ

นักศึกษาเลือกศึกษารายวิชาจากหลักสูตรภาคพิเศษทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่เปิดสอนในคณะศิลปศาสตร์ และคณะอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้ รายวิชานอกคณะจะต้องได้รับอนุมัติจากหลักสูตรฯ 

ตัวอย่างรายวิชาที่นักศึกษาเลือกศึกษาได้ เช่น

อศ.320 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในบริบทเศรษฐกิจและการเงินโลก                                3 (3-0-6)

SE320 Southeast Asia in the Global Economy and Finance

อศ.330 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในบริบทสังคมกับกฎหมายระหว่างประเทศ                     3 (3-0-6)

SE330 Southeast Asia in the Context of International Community and International Law

อศ.440 สังคมวิทยาการพัฒนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                                  3 (3-0-6)

SE440 Sociology of Development in Southeast Asia

อษ.250 ประวัติศาสตร์อังกฤษ 1                                                    3 (3-0-6)

BS250 British History 1

อษ.251 ประวัติศาสตร์อังกฤษ 2                                                    3 (3-0-6)

BS251 British History 2

อษ.260 ประวัติศาสตร์อเมริกา 1                                                    3 (3-0-6)

BS260 American History 1

อษ.261 ประวัติศาสตร์อเมริกา 2                                                    3 (3-0-6)

BS261 American History 2

อษ.271 สังคมศาสตร์เบื้องต้น                                                        3 (3-0-6)

BS271 Introduction to Social Science

อษ.273 ความรู้เบื้องต้นด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการเมืองโลก                       3 (3-0-6)       

BS273 Introduction to International Relations and Global Politics

อษ.383 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การเมือง                                      3 (3-0-6)

BS383 Introduction to Political Economy

อธ.103 การตลาดเชิงกลยุทธ์                                                                   3 (3-0-6)

EB103 Strategic Marketing

อธ.104 เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ                                                        3 (3-0-6)

EB104 International Economics

อธ.266 การสื่อสารการตลาดดิจิทัล                                                           3 (3-0-6)

EB266 Digital Marketing Communication

อธ.267 การสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ                         3 (3-0-6)

EB267 Communication in Medical Tourism and Health  

อธ.361 การสื่อสารภายในและระหว่างองค์กร                                               3 (3-0-6)

EB361 Corporate Communication

อธ.368 การสื่อสารเพื่อการจัดการตราสินค้า                                                3 (3-0-6)

EB368 Communication in Brand Management

อธ.470 กฎหมายธุรกิจเบื้องต้น                                                     3 (3-0-6)

EB470 Introduction to Business Law

 

3)  วิชาเลือกเสรี                                                                                  6      หน่วยกิต     

นักศึกษาเลือกศึกษาวิชาใดก็ได้ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นวิชาเลือกเสรีจำนวนอย่างน้อย 6 หน่วยกิต ทั้งนี้ นักศึกษาไม่สามารถนำวิชาในหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับ พ.ศ. 2566 ที่เป็นรหัสระดับ 100 ไปนับเป็นวิชาเลือกเสรี

หมายเหตุ                

  • นักศึกษาเลือกศึกษารายวิชาจากหลักสูตรภาคพิเศษทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่เปิดสอนในคณะศิลปศาสตร์ และคณะอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รายวิชานอกคณะจะต้องได้รับอนุมัติจากโครงการฯ

อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากเลือกเรียนรายวิชาของหลักสูตรนานานาชาติ

ตัวอย่างแผนการเรียน

 

 

โอกาสการทำงาน

  1. นักแปลและล่าม
  2. บรรณาธิการงานแปล/ผู้ตรวจสอบงานแปล
  3. นักโลคัลไลเซชัน/ผู้เชี่ยวชาญด้านโลคัลไลเซชัน
  4. ผู้บริหารโครงการแปล/ผู้บริหารโครงการโลคัลไลเซชัน
  5. นักพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมือช่วยแปล
  6. นักวิจัย/อาจารย์

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

  • หลักสูตรโครงการพิเศษเป็นการเรียนในหรือนอกเวลาราชการ
    • หลักสูตรปริญญาตรี สาขาการแปลและล่ามในยุคดิจิทัล เป็นหลักสูตรโครงการพิเศษที่เรียนในเวลาราชการ ที่คณะศิลปศาสตร์ ท่าพระจันทร์

 

  • โครงการพิเศษต่างจากโครงการภาคปกติอย่างไร
    • โครงการพิเศษของคณะศิลปศาสตร์จัดการเรียนการสอนที่ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นักศึกษาจึงจะได้ใช้อาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก และอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัย (เช่น ห้องปฏิบัติการล่าม) ของคณะศิลปศาสตร์ ที่ท่าพระจันทร์
    • นอกจากนั้น นักศึกษายังจะได้ร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นสำหรับนักศึกษาโครงการพิเศษ (ทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ) ของคณะศิลปศาสตร์โดยเฉพาะ ที่เรียกว่าโปรแกรม “L’arts Exclusive”
    • ในส่วนของนักศึกษาโครงการ BTi ซึ่งเป็นโครงการพิเศษ ภาคปกติ หลักสูตรภาษาไทย ของคณะศิลปศาสตร์ จุดเด่นของหลักสูตรภาคพิเศษนี้คือนักศึกษาจะได้เรียนรายวิชาในหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมการแปลและล่ามในยุคปัจจุบัน ได้เรียนกับคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ และอาจารย์พิเศษที่เป็นผู้ปฏิบัติงานมืออาชีพในสาขาการแปลและล่ามเฉพาะทาง อีกทั้งยังจะได้ใช้ facilities สำหรับนักศึกษา BTi โดยเฉพาะอีกด้วย

 

  • นักศึกษาโครงการ BTi จะได้ใช้ facilities อะไรเป็นพิเศษบ้าง

ตัวอย่าง facilities สำหรับนักศึกษาโครงการ BTi

  • License โปรแกรม CAT tool
    • (ในเบื้องต้น นักศึกษาแต่ละคนจะได้ใช้ CAT tool แบบมี license ตอนเรียนวิชาเทคโนโลยีการแปล นักศึกษาจึงสามารถใช้ CAT tool หางานแปล freelance ตอนเรียนไปด้วยได้)
  • ห้องคอมพิวเตอร์
  • เครื่องคอมพิวเตอร์ laptop สำหรับให้นักศึกษายืมใช้
  • ห้องปฏิบัติการล่าม

 

  • เรียนเป็นภาษาอะไร
    • เนื่องจากเป็นหลักสูตรภาคภาษาไทย (ไม่ใช่หลักสูตรนานาชาติ) ที่ศึกษาการแปลและล่ามในคู่ภาษาไทยและอังกฤษ จึงใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
  • ค่าเทอมประมาณเท่าไร – ต่อเทอม, ทั้งหลักสูตร
  • โดยเฉลี่ยแล้ว 1 ปีการศึกษาจะอยู่ที่ประมาณ 87,xxx บาท
  • โดยที่แต่ละเทอมจะจ่ายไม่เท่ากัน

เช่น ปี 1 เทอม 1 ประมาณ 55,xxx บาท

ปี 1 เทอม 2 ประมาณ 31,xxx บาท

ปี 2 เทอม 1 ประมาณ 50,xxx บาท

ปี 2 เทอม 2 ประมาณ 31,xxx บาท เป็นต้น

ทั้งนี้ หากเลือกเรียนวิชาของหลักสูตรนานาชาติ อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม (ประมาณ 1,500 บาทต่อ 1 วิชา)

 

ตัวอย่างประมาณการค่าใช้จ่ายของปีการศึกษา 2566, 2567 

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 312,080 บาท 

ชั้นปีที่ 1     87,080 บาท (ภาค1) 55,185 บาท (ภาค2) 31,895 บาท

ชั้นปีที่ 2     82,500 บาท (ภาค1) 50,605 บาท (ภาค2) 31,895 บาท

ชั้นปีที่ 3     82,500 บาท (ภาค1) 50,605 บาท (ภาค2) 31,895 บาท

ชั้นปีที่ 4     60,000 บาท (ภาค1) 46,105 บาท (ภาค2) 13,895 บาท

ค่าใช้จ่ายที่แจ้งได้รวม ค่าธรรมเนียมเตรียมความพร้อม, ค่าหน่วยกิต, ค่าธรรมเนียมโครงการพิเศษ, ค่าธรรมเนียม มธ. แล้ว

 

  • เรียนแปลจะได้แปลอะไรบ้าง
    • ผู้เรียนจะได้เรียนแปลตัวบทหรือต้นฉบับที่หลากหลาย ทั้งงานเชิงให้ข้อมูล งานเชิงพรรณนา/บรรยายความรู้สึก และงานเชิงโฆษณา/โน้มน้าวใจและจะมีโอกาสได้เลือกเรียนการแปลตัวบทเฉพาะทาง เช่น ตัวบทด้านกฎหมาย วรรณกรรม ตัวบทเชิงพาณิชย์ ฯลฯ โดยตัวบทจะไม่จำกัดแค่รูปแบบของหนังสือหรือสิ่งพิมพ์เท่านั้น จะมีตัวบทที่เป็นสื่อผสม (multimodal texts) เช่น คลิปวิดีโอ ภาพยนตร์ ซีรีส์ที่มีทั้งภาพและเสียง หรือสื่อที่มีภาพประกอบเป็นองค์ประกอบสำคัญ อย่างหนังสือภาพ โปสเตอร์ ฯลฯ

 

  • ล่ามเรียนอะไร
    • ผู้เรียนทุกคนจะได้ฝึกการล่าม โดยศึกษารายวิชาต่อไปนี้
  • หลักการแปลและล่ามเบื้องต้น
  • การล่ามแบบพูดตาม
  • การล่ามแบบพูดพร้อม

หากผู้เรียนคนใดต้องการต่อยอด สามารถเลือกเรียนวิชาเฉพาะทางได้ เช่น

  • การแปลและล่ามเชิงธุรกิจ
  • เรียนเฉพาะคู่ภาษาอังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ ใช่ไหม มีภาษาอื่นด้วยหรือไม่
    • ในปัจจุบันการเรียนการสอนเน้นอังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ ในอนาคตอาจมีภาษาอื่น ๆ ให้เลือกเรียน อย่างไรก็ดี นักเรียนสามารถเลือกเรียนภาษาที่สามที่เปิดสอนโดยโครงการพิเศษอื่น ๆ ของคณะศิลปศาสตร์ เป็นรายวิชาเลือกเสรีได้ นอกจากนี้ สำหรับนักเรียนที่มีความรู้ภาษาต่างประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ความรู้เชิงทฤษฎีและทักษะการแปลคู่ภาษาไทย-อังกฤษ ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับคู่ภาษาอื่น ๆ ได้เช่นกัน

 

  • มีการแบ่งวิชาเอก วิชาโท เหมือนโครงการปกติไหม เช่น เอกภาษาอังกฤษ โทภาษาญี่ปุ่น
    • ไม่มีวิชาโทในลักษณะเดียวกับหลักสูตรภาคปกติ แต่นักศึกษาจะได้เลือกเรียนวิชาเนื้อหาเฉพาะทางตามความสนใจและความถนัด เช่น วิชาสายพัฒนาเครื่องมือช่วยแปล วิชาสายการแพทย์ วิชาสายมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และธุรกิจ

 

  • ถ้าสนใจวิชาของโครงการอื่น ไปลงเรียนได้หรือไม่
    • นักศึกษาเลือกศึกษารายวิชาจากหลักสูตรภาคพิเศษทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่เปิดสอนในคณะศิลปศาสตร์ และคณะอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้ รายวิชานอกคณะจะต้องได้รับอนุมัติจากโครงการฯ และอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในกรณีที่เลือกเรียนรายวิชาของหลักสูตรนานาชาติ
  • เนื้อหาเฉพาะทาง มีด้านอะไรบ้าง
    • นักศึกษาต้องศึกษาวิชาเนื้อหาเฉพาะทางไม่น้อยกว่า 5 รายวิชา จำนวน 15 หน่วยกิต โดยเลือกรายวิชาจากสายวิชาใดสายวิชาหนึ่งไม่ต่ำกว่า 3 รายวิชา (ยกเว้นนักศึกษาที่ต้องการประกาศนียบัตรด้านการแปลและล่ามทางการแพทย์ ต้องเลือกเรียนวิชาสายการแพทย์ให้ครบทั้ง 5 รายวิชา)

สายวิชาดังกล่าว ได้แก่

  1. วิชาสายพัฒนาเครื่องมือช่วยแปล
  2. วิชาสายการแพทย์
  3. วิชาสายมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และธุรกิจ

 

  • นอกจากนั้น นักศึกษาทุกคนยังเลือกเรียนรายวิชาการแปลเฉพาะด้านต่อไปนี้เป็นรายวิชาบังคับเลือกได้
  • การแปลและล่ามเชิงธุรกิจ
  • การแปลและล่ามเชิงกฎหมาย
  • การแปลและโลคัลไลเซชันสื่อ
  • การโลคัลไลเซชันเกม
  • การแปลวรรณกรรม

 

  • ในหลักสูตรมีรายวิชาการโลคัลไลเซชันในอุตสาหกรรมการแปล (Localization in the Translation Industry) การแปลและโลคัลไลเซชันสื่อ (Media Translation and Localization) และการโลคัลไลเซชันเกม (Game Localization) ไม่ทราบว่าโลคัลไลเซชันคืออะไร
  • โลคัลไลเซชัน (localization) คือการปรับภาษาและเนื้อหาให้สอดคล้องและเหมาะสมกับวัฒนธรรมของพื้นที่ (locale) ปลายทางที่เนื้อหานั้นไปเผยแพร่
  • โดยทั่วไป การระบุ locale จะใช้รหัส เช่น en_US สำหรับการโลคัลไลเซชันผลิตภัณฑ์และบริการที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษที่อาศัยในสหรัฐอเมริกา และ en_CA เมื่อผลิตภัณฑ์และบริการมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ภาษาอังกฤษในประเทศแคนาดา ในทำนองเดียวกัน fr_CA เป็นรหัสของ locale ที่กลุ่มเป้าหมายใช้ภาษาฝรั่งเศสและอาศัยในประเทศแคนาดา และ fr_BE เป็นรหัสของ locale ที่กลุ่มเป้าหมายใช้ภาษาฝรั่งเศสและอาศัยในประเทศเบลเยียม
  • ดังนั้น ในกระบวนการโลคัลไลเซชันสำหรับสินค้าที่จะวางขายในประเทศแคนาดา ทีมโลคัลไลเซชันก็ต้องพิจารณาว่า locale ปลายทางนั้นใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศส
  • หากใช้ภาษาฝรั่งเศส ผู้ทำหน้าที่โลคัลไลซ์ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ภาษาฝรั่งเศสที่ใช้ในแคนาดานั้น ไม่เหมือนกับภาษาฝรั่งเศสที่ใช้ในประเทศฝรั่งเศส เบลเยี่ยม (หรือประเทศอื่นๆ) อย่างไรบ้าง
  • ในทำนองเดียวกัน การโลคัลเซชันสื่อ (media localization) ให้เป็นภาษาสเปน สำหรับ locale ที่ใช้ภาษาสเปน แต่เป็นภาษาสเปนที่ต่างกัน ก็จะต้องอาศัยผู้ที่เข้าใจทั้งภาษาและวัฒนธรรมของ locale ปลายทางเป็นอย่างดี เช่น แพลตฟอร์มของผู้ให้บริการวิดีโอสตรีมมิงแบ่งซับไตเติลออกเป็น European Spanish และ Spanish โดยแบบแรกหมายถึงภาษาสเปนที่ใช้ในประเทศสเปน ส่วนแบบหลังคือภาษาสเปนที่ใช้ในลาตินอเมริกา (ซึ่งหากเป็นการโลคัลไลเซชันในบริบทอื่นก็สามารถจำแนกภาษาสเปนที่ใช้ในลาตินอเมริกาออกเป็น locale ย่อยๆ ได้อีก)
  • ในอุตสาหกรรมการให้บริการด้านภาษาและการแปล คำว่า localization มักใช้ในบริบทของ media localization (ซึ่งมีตัวอย่างที่คุ้นเคยคือ subtitling และ dubbing), (video) game localization, app localization, website localization และ advertising localization ดังนั้น การโลคัลไลเซชันจึงมักเกี่ยวข้องมากกว่าการปรับหรือแปลข้อความ แต่รวมไปถึงกราฟิกหรือองค์ประกอบ multimodal อื่นๆ ด้วย

 

  • สามารถเรียนวิชาเลือกเป็นภาษาสเปนได้ไหม
  • การเรียนวิชาภาษาสเปนเป็นวิชาเลือกเสรี มี 2 แนวทาง ดังนี้
  1. โครงการพิเศษภาคภาษาไทย (อาณาบริเวณศึกษา และ/หรือ BTi) เปิดให้นักศึกษาของโครงการเรียนวิชาภาษาสเปนเป็นวิชาเลือกเสรี โดยต้องมีจำนวนนักศึกษาลงทะเบียนไม่ต่ำกว่า 20 คน
  2. นักศึกษา BTi เรียนร่วมกับนักศึกษาโครงการ BAS ในกรณีที่เทอมนั้นโครงการ BAS เปิดสอนวิชาภาษาสเปน*

 

*ทางเลือกนี้ มีข้อแม้คือ

– โครงการ BAS ต้องเปิดวิชานี้ให้น.ศ.ตัวเองอยู่แล้ว

– น.ศ. BTi ต้องจ่ายส่วนต่างค่าหน่วยกิตเฉพาะวิชานี้วิชาเดียว เป็นจำนวนเงิน 1,500 บาท เพิ่มไปจากค่าเทอมของเทอมนั้น (ทั้งนี้เพราะโครงการ BAS เป็น international program ซึ่งค่าหน่วยกิตแพงกว่าโครงการพิเศษ ภาคภาษาไทย)

** สำหรับการไปเรียนวิชาภาษาสเปน ร่วมกับนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ ที่รังสิตนั้น นักศึกษาสามารถดำเนินการยื่นคำร้องขอไปเรียนได้ แต่จะไม่ได้นับหน่วยกิต เพราะภาษาสเปนพื้นฐานที่เปิดสอนที่รังสิต เป็นวิชารหัส 100 ไม่นับเป็นวิชาเลือกเสรีตามโครงสร้างหลักสูตร

 

  • ทำไมฝึกงานถึงฝึกเป็นเทอม ต่างจากฝึกงานช่วงซัมเมอร์อย่างไร ต้องทำอย่างไรบ้าง
    • นักศึกษาจะลงทะเบียนรายวิชาการฝึกงานด้านการแปลและล่ามเป็นเทอม ในปี 4 เทอม 2
    • สาเหตุที่ให้ฝึกงานเป็นเทอมก็เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้การทำงานจริงอย่างยาวนานเพียงพอจนเกิดความรู้ความเข้าใจธรรมชาติการทำงานในสายงานนั้นๆ เป็นการเพิ่มศักยภาพและเตรียมความพร้อมให้สามารถประกอบอาชีพนักแปลและล่ามได้ทันทีหลังสำเร็จการศึกษา
    • รูปแบบการทำงานย่อมจะขึ้นอยู่กับสถานประกอบการหรือหน่วยงานที่นักศึกษาไปฝึก (เช่น หากฝึกงานที่บริษัทโลคัลไลเซชันสื่อ นักศึกษาก็อาจจะได้แปลซับไตเติลเป็นหลัก หากฝึกงานกับตำรวจท่องเที่ยว ก็อาจจะได้ใช้ทักษะการล่ามมากเป็นพิเศษ เป็นต้น)

 

  • โครงการมีโปรแกรม CAT Tools ให้นักศึกษาใช้ไหม
    • ในเบื้องต้น นักศึกษาแต่ละคนจะได้ใช้ CAT tool แบบมี license ตอนเรียนวิชาเทคโนโลยีการแปล (นักศึกษาจึงสามารถใช้ CAT tool หางานแปล freelance ตอนเรียนไปด้วยได้)

 

  • เรียนจบ 3 ปีครึ่งได้ไหม
    • หลักสูตรนี้ไม่สามารถจบการศึกษาใน 3 ปีครึ่งได้เนื่องจากนักศึกษาทุกคนต้องลงทะเบียนรายวิชาการฝึกงานด้านการแปลและล่าม ในภาคเรียนที่ 2 ชั้นปีที่ 4 เพื่อเพิ่มศักยภาพและเตรียมความพร้อมให้สามารถประกอบอาชีพนักแปลและล่ามได้ทันทีหลังสำเร็จการศึกษา

 

  • เทียบโอนรายวิชาได้หรือไม่
    • เทียบโอนได้ ทั้งกรณีผู้ที่จบระดับปริญญาตรีแล้ว หรือ กรณีผู้ที่สำเร็จการศึกษา ม.6 (เด็กซิ่ว) โดยนักศึกษาอาจขอเทียบโอนรายวิชาและหน่วยกิตที่มีเนื้อหาของรายวิชาเทียบเท่าและมีเกณฑ์การประเมินผลหรือวัดผลได้มาตรฐานเทียบเท่ากับรายวิชาในหลักสูตร
    • ให้เทียบโอนได้ไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนหน่วยกิตรวมทั้งหลักสูตร และมีเวลาศึกษาในหลักสูตรที่รับเทียบโอนไม่น้อยกว่าหนึ่งปีการศึกษา
    • รายวิชาที่ขอเทียบโอนต้องมิใช่รายวิชาในหลักสูตรที่นักศึกษาผู้นั้นถูกถอนชื่อจากทะเบียนนักศึกษา
    • รายวิชาที่ขอเทียบโอนต้องศึกษามาแล้วไม่เกินแปดปีนับจากปีที่ลงทะเบียนเรียนจนถึงวันที่ขอเทียบโอนรายวิชาและหน่วยกิต
    • รายวิชาที่ขอเทียบโอนต้องมีผลการศึกษาระดับ C ขึ้นไป
    • การขอเทียบโอนต้องได้รับความเห็นชอบจากคณบดีและกรรมการบริหารหลักสูตร
    • ผู้ที่จะขอเทียบโอนต้องผ่านการสอบคัดเลือกตามกระบวนการเรียบร้อยแล้ว และเป็นนักศึกษาของโครงการแล้วถึงดำเนินการทำเรื่องเทียบโอนได้

 

  • มีทุนการศึกษาให้หรือไม่
    • นักศึกษาสามารถสมัครทุน กยศ.กับกองกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัย วงเงินกู้ยืมปีการศึกษาละ 50,000-60,000 บาท กรณีค่าเทอมเกินกว่าวงเงิน ผู้ปกครองต้องจ่ายเอง
    • หมายเหตุ: ในปีการศึกษา 2566 และ 2567 นักศึกษาโครงการ BTi จะยังไม่สามารถกู้ กยศ. ได้ เนื่องจากโครงการ BTI เป็นหลักสูตรใหม่ต้องผ่านกระบวนการรับรองคุณภาพหลักสูตรตามขั้นตอนให้เสร็จสิ้นเสียก่อน
    • ฝ่ายการนักศึกษาของคณะศิลปศาสตร์จะมีประกาศรับสมัครทุนช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และทุนเรียนดี ทุกปี รวมทั้งยังมีการให้ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาโครงการพิเศษที่มีผลการเรียนดีหรือมีคุณสมบัติตรงตามที่คณะฯ ต้องการ

 

  • ขอทราบรายละเอียดเรื่องการไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ
    • โครงการแลกเปลี่ยนจะมีการดำเนินการสองระดับ คือ สัญญาระดับมหาวิทยาลัยและสัญญาระดับคณะ ซึ่งทางวิเทศ
    • คณะศิลปศาสตร์จะเป็นผู้ลงประกาศรับสมัครหลังจากที่ได้รับข้อมูลจากมธ./ม.คู่สัญญาแล้ว สามารถติดตามประกาศได้ที่เพจ Facebook วิเทศสัมพันธ์ คณะศิลปศาสตร์ เว็บไซต์คณะศิลปศาสตร์ และเพจโครงการพิเศษ
    • นักศึกษาต้องสอบชิงทุน ซึ่งเงื่อนไขและคุณสมบัติขึ้นอยู่กับม.คู่สัญญานั้นๆกำหนด
    • ในแต่ละปีอาจจะมีจำนวนมหาวิทยาลัยไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับโควต้าจากทางม.คู่สัญญา
  • ไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ มีหน่วยกิตให้หรือไม่
    • ทางคณะศิลปศาสตร์จะกำหนดให้นักศึกษาที่สมัครไปแลกเปลี่ยนระบุรายวิชาที่จะกลับมาเทียบโอนไว้ในเอกสารสมัคร แต่เมื่อกลับมาจากการแลกเปลี่ยนแล้วจะสามารถเทียบโอนได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับโครงการพิจารณาจากเอกสารการเรียนของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ หากสามารถเทียบโอนได้ก็นับเป็นหน่วยกิตได้ตามจำนวนหน่วยกิตของแต่ละวิชาของ มธ.
  • เมื่อไปแลกเปลี่ยนแล้วจะสามารถจบได้ภายใน 4 ปีหรือไม่
    • โดยปกตินักศึกษาที่ไปแลกเปลี่ยนจะจบช้ากว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน อาจจะช้าไป 1 เทอมหรือ 1 ปี ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ไปแลกเปลี่ยนและรายวิชาที่สามารถกลับมาเทียบโอนได้
  • ขอรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ
    • เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน คือ นักศึกษาต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนนักศึกษาแลกเปลี่ยนไว้ที่คณะหรือ มธ.ขึ้นอยู่กับระดับสัญญาที่ไปแลกเปลี่ยน จ่ายเท่ากับค่าเทอมที่จ่ายปกติที่มธ. ถ้าไป 1 เทอมก็จ่าย 1 เทอม ถ้าไป 2 เทอมก็จ่าย 2 เทอม
    • ส่วนเรื่องทุนที่นักศึกษาจะได้รับจะขึ้นอยู่กับโครงการแลกเปลี่ยนนั้นๆ ไม่ได้มีทุนให้ทุกมหาวิทยาลัย บางแห่งจะมีทุนสนับสนุนให้บางส่วน เช่น ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายรายเดือน หรือบางโครงการมีทุนสนับสนุนให้แบบเหมาจ่าย เช่น โครงการ AIMS (1 เทอมๆละ 1 แสนบาท)
    • ค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองต้องออกเองขึ้นอยู่กับประเทศ ระยะเวลาที่ไปแลกเปลี่ยนและการใช้จ่ายของตัวนักศึกษาเอง

 

สามารถศึกษาข้อมูลการแลกเปลี่ยนได้เพิ่มเติมที่เว็บไซต์กองวิเทศ มธ.ที่

https://oia.tu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=167&Itemid=411

 

  • ตลาดล่ามทุกวันนี้การแข่งขันสูงมาก และใคร ๆ ก็เข้าได้ อย่างนี้แล้ว เมื่อเรียนจบไป จะมีงานรองรับเลยหรือไม่
    • ตลาดล่ามก็เหมือนตลาดงานอื่นที่ต้องแข่งขันกันด้วยความสามารถและทัศนคติที่เหมาะแก่การทำงาน สิ่งที่โครงการจะให้ได้คือทักษะวิธีในการทำงานแปลและล่าม และข้อมูลเกี่ยวกับตลาดแรงงานซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่เรียนจบหลักสูตรนี้มีข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งนี้ผู้สมัครควรพิจารณาให้แน่ใจก่อนว่าตนต้องการเข้าสู่อาชีพนี้หรือไม่

 

  • เป็นนักแปล/ล่าม รายได้ดีไหม
    • เป็นคำถามที่ตอบยาก เนื่องจากรายได้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย และคำว่า “ดี” ของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน แต่ให้นักเรียนมั่นใจได้ว่า เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะมีทักษะต่างๆ ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพสายการแปลและล่าม อันจะช่วยให้ทำงานในอุตสาหกรรมการแปลและล่ามได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งเพิ่มโอกาสที่จะได้ร่วมงานกับบริษัทชั้นนำที่ให้ค่าตอบแทนเหมาะสมกับระดับความสามารถ จากการสอบถามนักแปลและล่ามอาชีพ หลายท่านบอกตรงกันว่า มีรายได้ดีเมื่อเทียบกับหลายๆ สายงาน
    • งานแปลและล่ามยังมีข้อดีตรงที่ทำเป็นงาน freelance ได้ จึงเหมาะกับคนที่ต้องการความยืดหยุ่นในเรื่องเวลาทำงาน และในหลายกรณีก็สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ (work from anywhere)

 

 

  • การใช้เครื่องมือช่วยแปลจะลดโอกาสการหางานของนักแปลหรือไม่ เทคโนโลยีจะเข้ามาแทนมนุษย์ในการทำงานแปลและล่ามได้ไหม

การที่เทคโนโลยีจะเข้ามาแทนมนุษย์มีโอกาสเป็นไปได้น้อยมากเพราะการสื่อสารมีบริบทอื่นๆ เกี่ยวข้องอีกมากนอกเหนือจากการแปลตามตัวอักษร เราเรียนรายวิชาเทคโนโลยีการแปลในหลักสูตรนี้เพื่อนำเครื่องมือช่วยแปลมาช่วยให้ทำงานแปลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะนักแปลที่มีทักษะทางเทคโนโลยีการแปลและเครื่องมือช่วยแปลจะทำงานย่อมจะได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน หากเทียบกับนักแปลที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างถ่องแท้และรอบด้าน

 

 

ติดต่อเรา