Undergraduate Program

Southeast Asian Studies

สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาณาบริเวณศึกษา มุ่งสร้างบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ทางด้านอาณาบริเวณศึกษา รู้รอบ รู้ลึก รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลกในมิติต่าง ๆ วิเคราะห์และวิจารณ์ได้อย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ บูรณาการความรู้จากหลากหลายศาสตร์วิชา ประยุกต์ใช้ความรู้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน มีคุณธรรมจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนนำทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศที่ 3 ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

การปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาณาบริเวณศึกษา วิชาเอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในครั้งนี้เกิดจากการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้บัณฑิต ศิษย์เก่า นักศึกษาปัจจุบัน ตลอดจนคณาจารย์ในสาขาวิชา เพื่อให้หลักสูตรสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและตลาดแรงงานได้อย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

  • มีทักษะและองค์ความรู้ในอาณาบริเวณที่ตนเองศึกษา
  • มีทักษะการสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
  • สามารถคิด วิเคราะห์ วิพากษ์ เรียบเรียง รวมถึงนำเสนอได้อย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ
  • สามารถบูรณาการทักษะและองค์ความรู้ทางด้านอาณาบริเวณศึกษา เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพและสร้างคุณประโยชน์ต่อตนเองและสังคมส่วนรวม
  • มีทักษะการทำงานวิจัย ค้นคว้าและประยุกต์ใช้ข้อมูลสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ตระหนักรู้ เข้าใจ ยอมรับความแตกต่าง และเคารพในความหลากหลายของคนในสังคม
  • มีคุณธรรมจริยธรรม มุ่งมั่นพัฒนาตนเอง และมีคุณลักษณะ GREATS ของธรรมศาสตร์เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำแห่งศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทันโลกทันสังคม (Global mindset) สำนึกรับผิดชอบอย่างยั่งยืน (Responsibility) สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ทรงพลัง (Eloquence) มีสุนทรียะในหัวใจ (Aesthetic appreciation) เป็นผู้นำ ทำงานเป็นทีม (Team leader) และมีจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ (Spirit of Thammasat)

สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาคืออะไร

  • ประวัติศาสตร์:

    เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) หรืออุษาคเนย์เป็นดินแดนเก่าแก่ของ มนุษย์ที่มีความเจริญทางด้านวัฒนธรรมมานาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ เป็นดินแดนที่อยู่ระหว่างอู่อารยธรรมเก่าแก่ของโลกตะวันออก คือ จีนและอินเดีย เป็นเส้นทาง ยุทธศาสตร์สําคัญระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิก จึงเป็นจุดเชื่อมต่อของเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และ ชายขอบรอบมหาสมุทรแปซิฟิก

  • การเมืองระหว่างประเทศ กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ วัฒนธรรม:

    ปัจจุบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการรวมกลุ่มเป็นองค์กรอาเซียน ซึ่งได้กลายเป็นภูมิภาค ที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรง ทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและ วัฒนธรรม ตลอดจนมีแนวโน้มที่จะต้องสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ให้กระชับมากยิ่งขึ้น เพื่อแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคอื่นในสังคมโลก ความรู้เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ องค์กรอาเซียน จึงเป็นปัจจัยสําคัญยิ่งต่อการติดต่อและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค และกับประเทศต่าง ๆ ในระดับนานาชาติ

  • ภาษา:

    มุ่งหวังที่จะผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในลักษณะที่เป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรมและภาษาที่ใช้ในภูมิภาค ตลอดจนมี ความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี เพื่อเป็นการสร้างบุคลากรกลุ่มใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญในภูมิภาค ศึกษา อันเป็นก้าวใหม่ของการผลิตทรัพยากรบุคคลของประเทศและสังคมโลกสมัยใหม่ต่อไป

เรียน “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (SEAS)” ไปทําไม ?

เนื่องจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมุ่งหวังพัฒนา อบรมความรู้ และสร้างบัณฑิตด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

  • มีความรู้ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม และภาษาของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในบริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกสมัยใหม่
  • เข้าใจสถานการณ์และปัญหาสังคม ตลอดจนรู้จักคิดวิเคราะห์ได้อย่างชัดเจนรอบด้าน
  • มีความสามารถนําความรู้มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจําวันและการประกอบอาชีพได้

เรียนแล้วไปทําอะไร?

เรียนต่อทั้งในและต่างประเทศ ทํางานเกี่ยวกับการต่างประเทศ งานสถานทูต งานกระทรวงฯ งานสอน งานเป็นครูบาอาจารย์ งานท่องเที่ยว งานธุรกิจ งานสื่อมวลชน งานเอกชน งานครอบครัว งานส่วนตัว

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรียนอะไร      

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออุษาคเนย์นั้นถือเป็นดินแดน แห่งอู่อารยธรรมของเหล่าอาณาจักรโบราณบนชุมทางศาสนา และชุมทางการค้าอันเป็นรากฐานความรุ่งเรืองของรัฐบนความ รุ่มรวยทางวัฒนธรรม ในปัจจุบันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้มี การรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนที่พัฒนาการ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมอย่างมีนัยสำคัญ องค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งรากฐาน เชิงประวัติศาสตร์และสถานการณ์ภูมิภาคในปัจจุบันด้วยองค์ ความรู้หลากหลายศาสตร์วิชาในเชิงสหวิทยาการทั้งปรัชญา ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์

ภาษาศาสตร์ วัฒนธรรมศึกษา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา อันเป็นขอบข่ายความรู้เชิงอาณาบริเวณศึกษาภายใต้พันธกิจ สัมพันธ์กับกระแสการเติบโตขึ้นของภูมิภาคนิยม หลักสูตร เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาจึงหมายมุ่งเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีภูมิความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนของเราพร้อมกับ เสริมศักยภาพด้วยโครงการแลกเปลี่ยนต่างประเทศกับ

หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในประเทศเพื่อนบ้าน และกิจกรรมศึกษาภาคสนาม รวมถึงการเรียนภาษาที่ใช้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นการพัฒนาบัณฑิตให้ เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกปัจจุบัน